วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เว็บไซต์แนะนำเกี่ยวกับเกษตรท่องเที่ยว

เว็บไซต์เกี่ยวกับเกษตรท่องเที่ยว
(สามารถคลิ๊กรับชมเว็บไซต์ที่ลิ้งได้เลย)


เป็นเว็บไซต์ของกรมส่งเสิริมการเกษตรโดยตรง แนะนำสถานที่่ท่องเที่ยว
และกิจกรรมที่จัดขึ้นของแต่ละจังหวัด





เว็บไซต์คู่มือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย สำหรับคนรักการท่องเที่ยวในประเทศไทย




เว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศไทยและต่างประเทศ 
มีข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านค้า และร้านอาหาร ครบครัน



วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วีดีโอสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

วีดีโอสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพปฎล ธาระวานิช
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการและการท่องเที่ยว
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต




ถอดเทปสัมภาษณ์

ผู้สัมภาษณ์ : สวัสดีค่ะ ตอนนี้เราก็อยู่กันที่ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการนะค่ะ วันนี้เราจะมาสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพปฎล ธาระวานิช อาจารย์ประจำวิชาสาขาการจัดการและการท่องเที่ยวนะค่ะในหัวข้อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรค่ะ
วีดีโอตัด

ผู้สัมภาษณ์ : ค่ะ ตอนนี้เราก็อยู่กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพปฎล ธาระวานิช แล้วนะค่ะ สวัสดีค่ะ

อาจารย์ : สวัสดีครับ

ผู้สัมภาษณ์ : ก็วันนี้อย่างที่ได้บอกอาจารย์ไปนะค่ะ ว่าจะมาถามอจารย์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนะค่ะ คำถามแรกเลยก็คือ อาจารย์เคยได้ลองไปท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้างรึยังค่ะ

อาจารย์ : ก็ไปมาเยอะเลย หลายที่เลยนะครับ อย่างเช่นที่จันทบุรี สมัยก่อนมันจะเป็นลักษณะของศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรเลยชื่อว่า บูลพัฒน์ ทัวร์ลิส เซ็นเตอร์ จะทำเป็นลักษณะของสวนปลูกผลไม้แล้วก็ให้นักท่องเที่ยวเนี่ยไปจอดรถด้านหน้าแล้วก็จัดเป็นรอบตรงนี้พอถึงเวลารอบนี้ปุ๊บสวนฝั่งนี้ก็จะมีคนแนะนำว่ามีผลไม้อะไรบ้างเสร็จเรรียบร้อยปุ๊บเนี่ย ก็จะให้นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเก็บผลไม้ได้มีข้อแม้อย่างเดียวคือห้ามเก็บกลับบ้าน คือเก็บแล้วก็รับประทานกันในสวน เสร็จแล้วก็ออกมาข้างนอกก็จะเป็นแพ็คสำหรับที่จะขาย ใครที่ต้องการซื้อกลับบ้านก็มาซื้อข้างนอก เสร็จเรียบร้อยปุ๊บก็จะมีห้องน้ำ ห้องอาหารเนี่ยคอยบริการที่หนึ่ง แล้วก็แถวสมุทรสงครามนี่ก็มีนะ เขาก็จะมีการทำเป็นพวกสวนผลไม้ผักพวกสวนครัวแล้วก็เป็นบ้านแบบบ้านไม้ไทยๆ ถึงเวลาปุ๊บเข้าไปก็ให้รถไปจอดข้างนอกแล้วก็เดินเข้าไปในสวนเจ้าของบ้านก็จะออกมารับเองพาไปดูว่าบ้านเค้าปลูกต้นไม้อะไรบ้างมีผักอะไรบ้าง เสร็จเรียบร้อยปุ๊บ พอกลางวันเขาก็จัดเลี้ยงโดยการเอาพืชในสวนเขานั่นแหละมาเลี้ยงนักท่องเที่ยว ก็มีผลไม้ในสวน ใครสนใจที่อยากจะอยู่ต่อก็มีกิจกรรม กิจกรรมเข้าไปในสวนไปช่วยดูการเก็บผลไม้ การแพ็คผลไม้การส่งเสร็จเรียบร้อยปุ๊บใครต้องการค้างคืนก็มีบ้านพักเป็นบ้านแบบโฮมสเตย์ก็บรรยากาศดีมากนะ แล้วก็ยังมีอีกหลายที่ เคยไปหลายที่นะครับ

ผู้สัมภาษณ์ : ค่ะ แล้วอาจารย์คิดว่าการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนี่มีผลดีต่อเกษตรอย่างไรบ้างค่ะ

อาจารย์ : ก็ดีเลย เพราะว่าเกษตรกรเนี่ย ปัจจุบันนี่เราก็ทราบอยู่แล้วเนาะก็เราไปซื้อผลไม้หรือซื้อผักในตลาดเนี่ย แพง เออ แต่ว่าถ้าเกิดเราไปซื้อโดยตรงกับเจ้าของสวนโดยตรงเนี่ยราคามันต่างกันเยอะ อย่างเช่นมะพร้าวสมัยก่อนเนี่ย จากสวนลูกละสองบาทเอง ออกมาขายข้างนอกก็ลูกละสิบห้าหรือยี่สิบเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้วใช่มั๊ย เดี่ยวนี้ก็ห้าบาท ข้างนอกก็สามสิบห้าสี่สิบใช่มั๊ย แต่ว่าอันเนี่ยเกษตรกรเขาก็จะได้ขายตรงให้กับนักท่องเที่ยวแล้วก็คนที่ไปเยี่ยมเยียนเขา นอกจากนั้นแล้วนะฮะ ก็จะได้ของสดๆใหม่ๆราคาก็จะถูกเกษตรกรก็จะได้เงินโดยตรงไม่ต้องไปผ่านพ่อค้าคนกลางใช่มั๊ย

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอาจารย์มีความรู้สึกอย่างไรบ้างค่ะที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการจัดการท่องเที่ยวนี้เกิดขึ้นค่ะ

อาจารย์ : ก็การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบนี้ ก็ทำให้ เจ้าของสวนเจ้าของไร่พืชอะไรต่างๆเนี่ยก็มีรายได้ดีขึ้นแล้วก็เป็นการกระจายรายได้โดยตรงจากนักท่องเที่ยวไปสู่เกษตรกรคือแทนที่เขาจะต้องรอให้เจ้าของข้างนอกมาพ่อค้าคนกลางมารับซื้อของไปขายในตลาด เงินก็ได้น้อยแทนที่จะได้การขายโดยตรงก็เป็นการขายผ่านพ่อค้าคนกลางราคาก็ถูกกด คราวนี้ถ้านักท่องเที่ยวได้เข้าไปแล้วก็เกษตรกรเขาทำเองถ้ามีพืชผลอย่างอื่นที่มันสามารถที่จะดัดแปลงเป็นพวกสินค้าที่ระลึกได้ก็ขายให้กับนักท่องเที่ยวอีกในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด นักท่องเที่ยวก็อยากจะเข้าไปหาเกษตรกร เกษตรกรก็จะได้รายได้มากกว่า แล้วก็รัฐบาลเองก็จะได้มีรายได้ด้วยจากการเสียภาษีของเกษตรกรต่างๆ

ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์คิดว่าการท่องเที่ยวเชิงเกษตรควรจะเป็นไปในรูปแบบไหนดีค่ะ อย่างเช่นถ้าเกิดเป็นในรูปแบบของธรรมชาติพาไปชมธรรมชาติหรือว่ามีกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตร
อาจารย์ : คือ เดี๋ยวนี้การท่องเที่ยวในเชิงเกษตรก็จะมีหลากหลายรูปแบบ อย่างที่บอกไปแต่แรกก็คือไปที่สวนผลไม้แล้วก็เก็บผลไม้รับประทานนั่นก็เป็นกิจกรรมอย่างนึง หรือว่าอยากจะให้ไปฝึกเรื่องของการเก็บผลไม้ของคนสวน เสร็จแล้วก็เอามาคัดเลือกคัดแยกนะ แล้วก็เอามาวางขายนะ หรือว่ากิจกรรมอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในรูปแบบของเชิงท่องเที่ยวในการเยี่ยมชมแล้วก็มีโอกาสได้สัมผัสด้วยอย่างเช่นที่ฟาร์มโชคชัยแล้วถ้าเกิดว่าได้ยินอะเนาะ อันเนี่ยอะดังมาก ก็คือจะเป็นลักษณะการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เขามีการพัฒนาแล้ว ก็จะมีรถนำเที่ยวซึ่งอันเนี่ยก็จะมีที่เชียงใหม่ที่สวนส้มธนาธรลักษณะเดียวกันเลยพาดูว่ามีส้มกี่ชนิดมาจากไหนปลูกยังไง เสร็จแล้วก็มีคัดเลือกพันธ์ส้มให้ดูนะ แต่ของโชคชัยนี่เขาก็มีทั้งสัตว์ มีทั้งวัว มีทั้งแกะ แล้วก็มีร้านอาหาร มีของที่ระลึก มีการไปชมสวน มีคนพาชมเสร็จมีค่ายพักแรมอะไรต่างๆเนี่ย คือ อยู่ที่ว่ารูปแบบแบบไหนที่เหมาะสมนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่ม ถ้าเกิดว่ากลุ่มที่เขาชอบมีกิจกรรมเยอะๆแล้วดูแล้วมันค่อนข้างจะทันสมัยหน่อยก็อาจจะไปพวกฟาร์มโชคชัย ถ้าเกิดว่าต้องการใกล้ชิดธรรมชาติอยู่กับชาวสวนเลยก็ไปสวนดีกว่านะครับ

ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์คิดว่าการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบนี้เนี่ยค่ะจะทำให้คนไทยหันมาเที่ยวประเทศเรามากขึ้นมั๊ยค่ะ

อาจารย์ : ก็คนไทยชอบอยู่แล้วนะ ถ้าเกิดว่าของที่มันเป็นของบ้านเราเอง เพราะบ้านเราเองก็หน้านี้ก็เป็นหน้าผลไม้ คนก็อยากไปทานทุเรียนเนาะ เพราะฉะนั้นทุเรียนก็จะเป็นสินค้าที่เรียกว่าเป็นราชินีแห่งผลไม้ไทย ฉะนั้นเวลานักท่องเที่ยวคนไทยไปปุ๊บไปซื้อที่ข้างนอกแพง เดี๋ยวนี้เท่าไหร่ เป็นพันเนาะ แต่ถ้าเกิดว่าซื้อที่สวนเนี่ยอุตรดิตถ์ พันธ์หลินใช่มั๊ย หลงหลิน เออ ของอุตรดิตถ์ลับแล พอออกมาปุ๊บไปซื้อที่สวนเนี่ยแล้วก็ได้คุณภาพเพราะว่านักท่องเที่ยวเกษตรกรเนี่ยก็จะได้ตรงกันพอดี นักท่องเที่ยวอยากซื้อ เกษตรกรก็อยากขาย แล้วมันก็ได้ขายตรงแล้วมันจะหลอกนักท่องเที่ยวไม่ได้ เพราะว่าถ้าหลอกปุ๊บมันก็จะพูดกันปากต่อปาก แต่ว่าถ้าเกิดว่าพ่อค้าขายสมมุติว่า เราผ่านไปซื้อของ ที่ตลาด สมมุติว่าที่ตลาดระยองซื้อเสร็จเรียบร้อยกลับมาปุ๊บกลายเป็นทุเรียนอ่อน สมมุตินะ เราก็จะนั่งรถกลับไปต่อว่าเขามั๊ยไม่ ไปฟ้องเงี๊ยก็เสียเวลาใช่มั๊ย แต่ว่าเกษตรกรเนี่ย เขาขายตรง เขาไม่กล้าที่จะทำ สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ นักท่องเที่ยวก็ชอบ ก็ทำให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ มันก็ทำให้เศรษฐกิจเขาดีด้วย

ผู้สัมภาษณ์ : ก็อยากให้อาจารย์ฝากถึงการท่องเที่ยงเชิงเกษตรค่ะว่า จะเชิญชวนให้คนที่เขาดูวีดีโอนี่อยู่หันมาท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากขึ้นอะค่ะ
อาจารย์ : ก็คือท่องเที่ยวเชิงเกษตรเนี่ยนะ ก็เป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบนึงซึ่งก็จะเป็นการสร้างรายได้ตรงให้กับเกษตรกร นักท่องเที่ยวก็จะได้สัมผัสชีวิตของคนสวนเจ้าของสวนเจ้าของไร่แล้วก็ได้บริโภค สินค้าผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากสวนหรือไร่สดๆใหม่ๆ แล้วก็ได้มีกิจกรรมที่หลากหลายซึ่งก็ทำให้เกิดความชื่นชอบแล้วก็ทำให้การท่องเที่ยวเราก็พัฒนาขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นก็อยากให้เชิญชวนพวกเราก็มาท่องเที่ยวกันแบบนี้ ถ้าเกิดว่าเราก็เป็นคนไทยก็เที่ยวกันแต่ในบ้านเรา ผลไม้ก็ได้ทานอย่างที่เราชอบ เพราะฉะนั้นก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี

ผู้สัมภาษณ์ : วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะที่ให้เกียรติมาสัมภาษณ์ในวันนี้

อาจารย์ : ครับ ขอบคุณมากครับ

บันทึกข้อมูลสังเกตการณ์ด้วยตนเอง

   จากการที่ได้หาข้อมูลและไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมาก็ทำให้ได้ข้อมูลมาขึ้นกว่าเดิม ได้เข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีอยากศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมและอยากมีโอกาสลองไปเที่ยวอีกสักครั้งหนึ่ง คิดว่าการท่องเที่ยวในรูปแบบเชิงเกษตรท่องเที่ยวนี้จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ดีมาก เป็นทั้งการสนับสนุนให้คนไทยเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้โดยตรงไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง รัฐบาลได้รับภาษีจากการท่องเที่ยวมีรายได้เข้าไปหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น เพราะการที่เราท่องเที่ยวภายในประเทศจะทำให้เงินที่เราเสียไปกับการท่องเที่ยวนั้นไม่ได้ศูนย์เปล่าไปแต่กลับมาเป็นเงินหมุนเวียนภายในประเทศของเรานั่นเอง อาจารย์นพปฎล ที่ให้สัมภาษณ์นั้น เป็นอาจารย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง รู้สึกประทับใจในตัวอาจารย์มาก

ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพปฎล ธาระวานิช
ที่ให้เกียรติมาให้สัมภาษณ์ ความรู้และบอกเล่าประสบการณ์ดีๆ
เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ขอบคุณค่ะ

5709098 นางสาว ภัทราพร วีระเกียรติ 
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เกษตรท่องเที่ยว AGRO-TOURISM

         หนังสือคู่มือเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเป็นการส่งเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชนและฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตรได้คัดเลือกพื้นที่ของหน่วยงานในส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นสถานที่ที่สวยงาม มีกิจกรรมทางการเกษตรที่น่าสนใจเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวไว้ทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ซึ่งสามารถไปเยี่ยมชมได้ทุกฤดูกาลมีมีที่พัก ร้านค้า และกิจกรรมทางการเกษตร มีพืชพรรณหลากหลายทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ พืชไม้เมืองหนาว สมุนไพรพื้นบ้าน สวนไม้หอมหายากสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี อยู่บนยอดดอยวาวี อาการเย็นสบายตลอดทั้งปีมีบ้านพัก เต็นท์ ร้านค้า ให้บริการ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อยู่ที่ขุนวาง มีที่พักที่กางเต็นท์ ร้านค้า อยู่ในวงล้อมของแนวเทอกเขาอินทนนท์ สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง มีที่พัก เต็นท์ เป็นพื้นที่ไร่ฝินของชาวไทยภูเขาสวยงามเป็นอย่างมาก ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ มีที่พัก ร้านค้า ตกแต่ง ปรับปรุงสถานที่ให้เป็นสถานที่เกษตรที่สวยงามสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ มีบ้านพัก จุดกางเต็นท์ เป็นเมืองเลย จังหวัดที่ขึ้นชื่อว่าหนาวที่สุดในประเทศไทย เสน่ห์หลากหลาย เหมาะแก่การท่องเที่ยว ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย  มีที่กางเต็นท์ สถานที่นี้มีแต่ความอุดมสมบรูณ์ เขียวชอุ่มชุ่มชื้นขึ้นไปทุกที่ สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรีมีแคมป์ปิ้ง กางเต็นท์ ร้านอาหาร เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางการเกษตรที่โดดเด่น ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี มีที่กางเต็นท์ ที่พัก ร้านค้า กิจกรรม Walk Rally เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่จะทำให้เราอิ่มอร่อยและได้ความรู้ไปพร้อมๆกัน แต่ละสถานที่นั้นน่าไปมากๆและคิดว่าถ้ามีโอกาสก็ควรจะลองไปดูสักครั้งนึง

 ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย 

สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี

ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่

สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ

ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง

สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี


หนังสือ คู่มือการท่องเที่ยว เกษตรท่องเที่ยว


กรมวิชาการเกษตรโดยการสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คู่มือการท่องเที่ยว เกษตรท่องเที่ยว
AGRO-TOURISM
ตามโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนะนำตัว




ชื่อ  นางสาว ภัทราพร วีระเกียรติ  รหัสนักศึกษา 5709098 
กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน COM226 
นำเสนอเกี่ยวกับ
คู่มือการท่องเที่ยว เกษตรท่องเที่ยว